สีรุ้งบนฟิล์มกรองแสง rainbow effect on window film

Last updated: 15 ธ.ค. 2563  |  2623 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สีรุ้งบนฟิล์มกรองแสง rainbow effect on window film

ในการติดฟิล์มกรองแสง หลายคนเคยสังเกตุเห็นว่าฟิล์มมีลักษณะเป็นสีรุ้ง เมื่อมองจากบางมุม หรือเกิดขึ้นตอนมืด ลักษณะการเกิดสีรุ้งนี้เรียกง่ายๆว่า rainbow effect

rainbow effect เกิดจากการที่แสงผ่านชั้นฟิล์มบางๆ 2 ชั้นที่มีความหนาต่างกันและเป็นวัสดุคนละชนิดกัน โดยส่วนใหญ่ในฟิล์มกรองแสงชนิดโลหะจะเกิดจากชั้นโลหะที่เคลือบ หรือชั้นเคลือบกันรอย scratech resistant ซึ่งการเกิด rainbow effect นี้เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตฟิล์มกรองแสงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่อาจจะน้อยจนบางครั้งสังเกตุไม่เห็น
 
ความเด่นชัดของสีรุ้งมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดสารที่เคลือบ ความหนาของชั้นเคลือบ ความสว่างของแสงภายในภายนอก ความเข้มของฟิล์ม ชนิดของหลอดไฟที่ใช้ หรือแม้กระทั่ง การวางตำแหน่งไฟและการใช้แว่นบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดลักษณะเงารุ้งขึ้นมาได้มากน้อยต่างๆกัน
 
ในกรณีที่ต้องการใช้ฟิล์มที่มีความเข้มมาก ควรลองติดตัวอย่างฟิล์มเพื่อดูว่ามีลักษณะการเกิดคราบรุ้งมากหรือน้อยอย่างไร แต่ในหลายกรณีการติดตั้งฟิล์มแผ่นเล็กก็อาจจะไม่เห็นลักษณะของเงารุ้งได้ชัดเจนมากนัก
 
การแก้ไข
ที่ได้ผลค่อนข้างมาก คือการใช้หลอด LED ที่มีคลื่นแสงคล้ายคลึงกับแสงอาทิตย์จะช่วยลดริ้วรุ้งให้จางหายไปได้มากแม้จะไม่หมด 100% ก็ตาม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้