ECOBLUE MAX HT | MAX HT-40 | MAX HT-20 | MAX HT-05 |
แสงส่องผ่าน% | 37 | 17 | 10 |
แสงสะท้อน% | 12 | 11 | 9 |
พลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน% | 19 | 11 | 9 |
พลังงานแสงอาทิตย์สะท้อน% | 11 | 11 | 8 |
พลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับ% | 70 | 78 | 83 |
ลดรังสียูวี% | 99 | 99 | 99 |
ลดความร้อนรวม% | 59 | 64 | 69 |
ลดรังสีอินฟาเรด% | >95 | >95 | >95 |
SHGC | 0.41 | 0.36 | 0.31 |
U-value | 5.5 | 5.5 | 5.5 |
ค่าทดสอบกระจกใสหนา 3 มม ติดตั้งฟิล์ม ทดสอบตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) LBNL OPTIC 5.1 และ NFRC 100-2010 summer LBNL window 7.6 ค่าที่ระบุไว้ใช้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเลือกใช้เท่านั้น ค่าประสิทธิภาพจริงอาจแตกต่างไปจากการใช้งานจริงและความคลาดเคลื่อนในการผลิต
ปัจจุบัน การติดตั้งฟิล์มจะเลือกจากค่าความสว่าง ซึ่งไม่ได้มีมาตรฐานใดกำกับ โดยส่วนใหญ่จะใช้ 1) ค่า % แสงส่องผ่าน 2) ค่าความเข้ม
1) % ค่าแสงส่องผ่าน เป็นค่า % ช่วงคลื่นแสงสว่างที่ผ่านกระจกติดฟิล์มในช่วง 380-750 nm ที่ผ่านมาได้มากที่สุด ฟิล์มกรองแสงที่ใช้วัสดุต่างชนิดกัน จะให้ % ค่าแสงส่องผ่านสูงสุดได้เท่ากันแต่อาจจะคนละช่วงคลื่น เช่น ฟิล์ม A % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 650 nm แต่ฟิล์ม B มี % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 700 nm
2) ค่าความเข้ม เพื่อความง่ายและสะดวกในการติดตั้งจะใช้วิธีเรียกแบบความเข้ม เช่น ความเข้ม 40, 60 หรือ 80% ซึ่งเป็นการเลือกโทนหรือความเข้มฟิล์มแบบตร่าวๆเท่านั้น ซึ่งการเรียกความเข้มของฟิล์มติดรถยนต์ไว้ 3 ระดับ คือ 40/60/80 เป็นความเข้าใจผิด และควรเรียกความเข้มของฟิล์มโดยพิจารณาค่าแสงสว่างส่องผ่าน (Visible light transmission )VLT ระดับความเข้มของฟิล์มที่ระบุ 40/60/80 จะให้ช่วงแสงส่องผ่านในระดับประมาณนี้
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 18-20 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5-10 %
ดังนั้นทางบริษัทแนะนำให้เจ้าของรถดูตัวอย่างฟิล์มจริงก่อนติดตั้ง อย่างไรก็ตาม การดูตัวอย่างฟิล์มจริงกับการติดตั้งสามารถให้สีที่แตกต่างกันได้อันเนื่องมาจากผลกระทบจากความสว่างและเฉดสีของฟิล์มส่วนอื่นๆ
รังสีอินฟาเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งในแสงแดดที่มาจากดวงอาทิตย์ พร้อมๆกับคลื่นแสงสว่าง คลื่นยูวี และคลื่นอืนๆ รังสีอินฟาเรดในแสงแดดอยู่ระหว่างช่วงคลื่น 750-2500 nm ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของพลังงานจากแสงแดด ประเด็นสำคัญคือรังสีอินฟาเรดมีผลต่อระบบประสาทรับรุ้ความรู้สึกร้อนของมนุษย์ โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า รังสีอินฟาเรดทำให้โปรตีนที่ทำหน้าที่เปิดปิดการนำกระแสไฟฟ้าไปยังสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกร้อนให้ทำงาน ดังนั้นเมื่อฟิล์มเซรามิค ECOBLUE ลดอินฟาเรดได้มากสูงสุดถึง 99% จึงทำให้คนรู้สึกร้อนน้อยลงได้อย่างทันที แสงสว่างในแสงแดดสามารถเปลี่ยนเป็นความร้อนได้เช่นกันแต่ใช้เวลานานกว่า ดังนั้นการใช้ฟิล์มอีโค่บลูจึงให้ทั้งความสบายและความสว่างในการขับขี่ (ดูเพิ่มเติม Solar Radiation ใน internet)
ในตลาดมีฟิล์มหลากหลายชนิด โดยทั่วไปแบ่งได้คือ
ฟิล์มย้อมสี ฟิล์มโลหะทั่วไป และฟิล์มเซรามิคอื่นๆ
ฟิล์มโลหะทั่วไปผลิตจากโลหะเช่น อลูมิเนียม นิกเกิ้ลหรือบรอนซ์ ซึ่งฟิล์มโลหะเหล่านี้สามารถผลิตให้สามารถลดความร้อนสูงได้แต่จะมีเงาสะท้อนสูงและค่อนข้างมืด รวมทั้งอาจรบกวนสัญญาณสื่อสารได้ด้วย ส่วนฟิล์มเซรามิคไม่มีเงาสะท้อน ความสามารถในการลดความร้อนจะขึ้นกับคุณสมบัติของฟิล์มว่ามีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากน้อยเท่าไหร่ เช่น ลดรังสีอินฟาเรดน้อยกว่า 80% ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่ายังลดความร้อนได้น้อย ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดในแต่ละรุ่นมากกว่า 90% เป็นต้นไป เงาสะท้อนต่ำ ไม่มีปัญหาเรื่องรบกวนสัญญาณ (ยกเว้นบางรุ่น) สามารถเลือกความเข้มของฟิล์มได้หลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับความสบายตลอดเวลาในการใช้งาน
ฟิล์มเซรามิคมีหลากหลายประสิทฺธิภาพ ถ้าสว่างเท่ากัน ฟิล์มเซรามิคที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากกว่า จะให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างนี้ได้ด้วยตาเปล่า เบื้องต้นสามารถใช้สเปกโตโฟเตอร์มิเตอร์แบบพกพา วัดค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่บางค่า ( 900,1400 nm) ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรด มากกว่า 90% ทำให้รู้สึกเย็นทุกขณะการขับขี่ ( ค่าคุณสมบัติอื่นๆ ปรึกษาผู้จำหน่าย )
ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูรุ่น MAX VK ถูกเคลือบด้วยชั้นเงินและเซรามิคกว่า 9 ชั้นซึ่งทำให้มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าฟิล์มเซรามิคอื่นๆนั่นคือ สามารถสะท้อนรังสีอินฟาเรด โดยที่ไม่สะท้อนแสงสว่าง อมความร้อนน้อย ลดความร้อนได้มากกว่าฟิล์มเซรามิคเทคโนโลยีอื่นๆที่ความสว่างใกล้เคียงกัน
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูรุ่น MAX VK ทำให้เกิดการรบกวนของสัญญาณสื่อสารของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ รวมไปถึง การติดตั้งอาจเกิดคลื่นๆ หรือรอย"ฝ้าขาว" ในบางจุด เป็นผลเนื่องมาจากการใช้ความร้อนในการขึ้นรูปฟิล์มสำหรับรถยนต์ในบางรุ่นที่กระจกมีความโค้งมาก ซึ่งทางบริษัทถือว่าเป็นความปรกติในการติดตั้งและสงวนสิทธิในการเปลี่ยนฟิล์มให้ใหม่่จากเหตุดังกล่าว
ไม่ควรกดกระจกขึ้นลงใน 7-15 วัน
ไม่ควรทำความสะอาดฟิล์มด้านใน 15-30 วัน
ไม่ควรติดตั้งที่ดูดสุญญากาศบนผิวกระจกหน้าใน 30 วันหลังติดตั้ง
การทำความสะอาดใช้สบู่เหลวหรือน้ำยาเช็ดกระจกที่ไม่มี "แอมโมเนีย"
ในระหว่างรอฟิล์มแห้ง ประมาณ 7-15 วัน จะเกิดคลื่น ตุ่ม ฟองซึ่งเป็นน้ำยาที่เหลือจากการติดตั้ง ห้ามเช็ด ถู ขยี้ อาจทำให้ฟิล์มเสียหายได้ ซึ่งฟิล์มจะแห้งเร็วมากขึ้นหากอากาศร้อน หรือจอดรถตากแดด
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าในการติดตั้งฟิล์มใหม่ทดแทนฟิล์มเดิมนั้น ในการลอกฟิล์มกระจกบานหลัง มีโอกาสที่เส้นไล่ฝ้าจะเสียหายจากการลอกฟิล์ม แม้ว่าจะใช้วิธีการลอกฟิล์มที่นุ่มนวล เช่น การบ่มฟิล์ม การใช้ไอนำ้ร้อน ทดแทนการใช้มีดโกนขูดคราวกาวเก่า โดยสาเหตุความเสียหายอาจมาจาก
- คุณภาพของเส้นไล่ฝ้า
- สภาพกาวของฟิล์มเดิม
ดังนั้นทางบริษัทไม่สามารถรับประกันความเสียหายของเส้นไล่ฝ้าของกระจกหลังอันเนื่องมาจากการลอกฟิล์มได้ และไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายของเส้นไล่ฝ้าในทุกกรณี
ในทางทฤษฎี การศึกษาเรื่องการลดความร้อนจากแสงแดดของวัสดุ จะดูค่า สัมประสิทธิ SHGC solar heat gain coefficient และค่า U-value เป็นหลัก แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในด้านฟิล์มกรองแสง จึงได้มีการพิจารณา การลดความร้อนรวม ซึ่งเท่ากับค่า 1-SHGC อย่างไรก็ตามสำหรับฟิล์มเซรามิคที่เน้นในส่วนการลดรังสีอินฟาเรดใช้การระบุว่าฟิล์มสามารถลดรังสีอินฟาเรดได้สูงสุดเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาที่ค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400 nm ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มาก มีแนวโน้มให้ความสบายต่อความรู้สึกได้ดีกว่าฟิล์มที่ลดรังสีอินฟาเรดน้อย เนืองจากเหตุผลทางด้านระบบประสาทรับรู้ความรู้สึก แต่ไม่ได้หมายความว่า ในแง่ของการประหยัดพลังงานโดยรวม ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มากกว่าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่า เนื่องจากมีหลายองค์ประกอบในการพิจารณาการลดความร้อนรวจากแสงแดด ซึ่งหากต้องการค่าที่ถูกต้อง จะต้องทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่อง Spectrophotometer ในการวัดค่าทางพลังงานต่างๆ (ดูหัวข้อ Heat Transfer ใน internet)
เข้มนอกสว่างใน เข้มแต่เคลียร์ เป็นเทคนิกการติดตั้งฟิล์ม ที่อาศัยความแตกต่างของแสงระหว่างภายนอก และภายในของรถยนต์ทำให้ คนภายในรถเห็นภายนอกได้สว่าง แต่คนภายนอกรถเห็นภายในรถได้ยาก โดยมีหลักคร่าวๆว่า ให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้มากที่กระจกบังลมหน้า เช่น 20% ส่วนกระจกส่วนที่เหลือให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้น้อยเช่น 5%