ECOBLUE MAX ECXT

ECOBLUE Ceramic Film MAX-ECXT – Advanced Innovation for Maximum Heat Protection

Experience cutting-edge technology with ECOBLUE Ceramic Film MAX-ECXT, developed using titanium ceramic particles to deliver superior heat reduction from sunlight. Enjoy crystal-clear visibility without compromising comfort, ensuring a smoother and safer driving experience.

Key Features of MAX-ECXT Ceramic Film:

Reflects over 95% of infrared rays, providing enhanced heat protection beyond standard window films.
Minimizes heat retention within the film, reducing interior heat buildup and enhancing overall comfort during your journey.
Crystal-clear visibility with advanced manufacturing technology, offering safety and clarity for both day and night driving.
Ideal for those seeking premium window film that combines exceptional heat resistance, comfort, and durability.

Upgrade your driving comfort today with ECOBLUE Ceramic Film MAX-ECXT!
ตารางค่าประสิทธิภาพ
 
ECOBLUE MAX  ECXTMAX ECXT-40MAX ECXT-20MAX ECXT-05
แสงส่องผ่าน%37157
แสงสะท้อน%888
พลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน%20107
พลังงานแสงอาทิตย์สะท้อน%777
พลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับ%738386
ลดรังสียูวี%999999
ลดความร้อนรวม%576365
ลดรังสีอินฟาเรด%>95>95>95
SHGC0.430.370.35 
U-value5.55.55.5 

ค่าทดสอบกระจกใสหนา 3  มม ติดตั้งฟิล์ม ทดสอบตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) LBNL OPTIC 5.1 และ  NFRC 100-2010 summer LBNL window 7.6 ค่าที่ระบุไว้ใช้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเลือกใช้เท่านั้น ค่าประสิทธิภาพจริงอาจแตกต่างไปจากการใช้งานจริงและความคลาดเคลื่อนในการผลิต

Lorem ipsum dolor sit amet, pri et feugiat consulatu. Eu per ceteros platonem. Ea dictas legendos ius. At adhuc solum has. Nec at harum euripidis, habeo elitr patrioque ne mel. Mei probo oportere posidonium in, has ei everti volutpat consequat.
Solar Transmission of ECOBLUE Film Model MAX ECXT-70
maxecb40graphmark
Solar Transmission of ECOBLUE Film Model MAX ECXT-40
maxecb20graphmark
Solar Transmission of ECOBLUE Film Model MAX ECXT-20
maxecb05graphmark
Solar Transmission of ECOBLUE Film Model MAX ECXT-05

FAQ

           เนื่องจากฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูบางรุ่นใช้เทคโนโลยีการปั่น Grinding ผงเซรามิคให้มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการลดความร้อนในแสงแดดสูงมากที่สุด เพื่อความเย็นสบาย  ทำให้บางครั้งหลังติดตั้งใหม่ๆในช่วงแรกอาจมีความฝ้ามัว อันเนื่องมาจากเกิดการกระเจิงแสงผ่านน้ำยาติดตั้งที่ยังค้างอยู่ในชั้นฟิล์ม  ซึ่งอาการฝ้ามัวเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นเมื่อน้ำยาติดตั้งแห้งสนิท อาจจะใช้ระยะเวลา  4-12 สัปดาห์

เมื่อน้ำยาแห้งสนิทแล้ว จะสังเกตุได้ว่าในตอนมืดกระจกจะมีความใสชัดเจน  และสำหรับกลางวันกระจกอาจมีลักษณะฝ้ามัวเล็กน้อยได้ในบางขณะเมื่อโดนแสงแดดในบางมุม  ซึ่งเป็นลักษณะปรกติของฟิล์มเซรามิคที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Gringing


       

หลอดไฟสีแดงหรือหลอดอินฟาเรดนั้น จะปล่อยรังสีอินฟาเรดในบางช่วงคลื่นออกมา ซึ่งขึ้นกับการผลิตว่าเป็นช่วงคลื่นใด ซึ่งจะแตกต่างจากความร้อนของแสงอาทิตย์ในเวลาขับรถค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น หลอดอินฟาเรด OSRAM 250w จะปล่อยช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดส่วนใหญ่เฉพาะในช่วง 1100 nm ในขณะที่แสงแดดมีค่าอินฟาเรดตั้งแต่ 750-2500 nm ซึ่ง หากฟิล์มใดสามารถลดรังสีอินฟาเรดในช่วง 1000 nm นี้ได้มาก ผู้ทดสอบจะรู้สึกเย็น

การทดสอบเช่นนี้คล้ายกับการวัดฟิล์มด้วย spectrophotometer แบบพกพา คือเป็นการแสดงประสิทธิภาพของฟิล์มอย่างง่ายๆ แต่จะแม่นยำน้อยกว่าการใช้มิเตอร์



ต้องยอมรับว่า ในเมืองไทย กรุงเทพ ฝุ่นละอองเยอะ โดยเฉพาะในบางสถานที่ ในการติดตั้งฟิล์ม สามารถมีเม็ดฝุ่นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย แม้ว่าจะติดตั้งในห้องปิด เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น เช่น ฝุ่นที่อยู่ในรถ หรือตามซอกขอบประตู ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด 100% ซึ่งฝุ่นผงละเอียดเหล่านี้สามารถปลิวฟุ้งขึ้นมาติดบนกระจกได้ในขณะที่ติดตั้ง

และฝุ่นเหล่านี้อาจจะมองไม่เห็น หากใช้ฟิล์มที่มีความสว่าง 60-70% แต่หากติดฟิล์มที่มีความเข้มมากๆ จะเห็นฝุ่นละอองเหล่านี้ได้มากขึ้น

และหากฟิล์มมีความหนามากขึ้น เช่น 2 มิว เม็ดฝุ่นจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากความหนาของฟิล์มทำให้ไม่สามารถเก็บรายละะเอียดให้เล็กลงได้ 

ดังนั้น ร้านติดตั้งจะไม่ได้ให้การรับประกันเปลี่ยนฟิล์มสำหรับในกรณีที่เกิดฝุ่นละอองติดอยู่ที่ฟิล์มบ้าง

กาวบนฟิล์มกรองแสงถูกออกแบบมาเพื่อให้ยึดติดกับฟิล์มกระจกได้ดี แต่บนผิวอื่นๆเช่น สีสกรีน ไข่ปลา กาวอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้ 

ดังนั้นอาจเกิดปัญหาฟิล์มหลุดลอกบริเวณไข่ปลาด้านหน้าช่วงกระจกมองหลัง หรือที่บริเวณขอบกระจก

แต่หากสกรีนไข่ปลาของกระจกด้านหน้าอยู่ในระหว่างชั้นกระจก ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น

ดังนั้นการหลุดลอกของฟิล์มบริเวณไข่ปลาถือเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งแก้ไขได้โดย 

ทากาว หรือกรีดฟิล์มบริเวณนั้นออกไป


ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง เนื่องจากบริเวณเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดช่องอากาศ ซึ่งหลังจากติดตั้งฟิล์มใหม่ๆ ในช่องเหล่านี้จะมีของเหลวพวกน้ำยาติดตั้งที่ยังไม่แห้งขังอยู่ จึงทำให้เกิดการหักเหของแสงไฟของรถข้างหลัง และเห็นซ้อนเป็นชั้นๆ อาจมีการพล่ามัวของแสงไฟในบางโอกาส อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น เพราะน้ำยาที่ขังอยู่ระหว่างเส้นไล่ฝ้าจะระเหยหายไป ซึ่งลดการหักเหของแสง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้ยังคงมีได้แม้ว่าฟิล์มจะแห้งตัวดีแล้ว



ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง อาจเห็นรอยขาวที่บริเวณจุดไข่ปลา หรือเส้นไล่ฝ้าได้ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ สำหรับรถบางคัน บางรุ่น และฟิล์มบางชนิด เนื่องจากบริเวณจุดไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ขนาดของจุดไข่ปลาและเส้นไล่ฝ้าของรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งความหนาของฟิล์มที่ใช้ในการติดตั้ง ทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากน้อยแตกต่างกันไป ความเข้มของฟิล์มก็มีส่วน ถ้าติดฟิล์มที่มีความเข้มมาก จะทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น

ในการติดตั้งหรือเปลี่ยนฟิล์มใหม่ หากเห็นอาการเหล่านี้ เป็นเรื่องปรกติ



มีความเป็นไปได้น้อยมาก และต้องระบุว่าค่าความร้อนดังกล่าวคือค่าอะไร ใช้วิธีการวัดค่าอย่างไร ตามมาตรฐานไหน โดยเฉลี่ยฟิล์มที่แสงสะท้อนต่ำกว่า 10% แสงผ่าน 40% ค่าการลดความร้อนรวมสูงสุดประมาณ 50-60% ส่วนแสงสว่างที่ลดลงมีผลต่อการลดความร้อนรวมค่อนข้างน้อย ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูถูกทดสอบด้วยการวัดค่าทางแสงและความร้อนตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) และ ISO 10292:1994(E) ด้วยเครื่องมือ Spectrophotometer Perkin Elmer Lamda 250

ในส่วนของการระบุค่าการลดรังสีอินฟาเรดอย่างง่ายจะเป็นการระบุเฉพาะจุดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400  nm แต่สามารถตรวจสอบกราฟสเปกตรัมของฟิล์มแต่ละชนิดได้เพื่อดูว่าฟิล์มสามารถลดอินฟาเรดในแต่ละจุดช่วงคลื่นอินฟาเรดได้มากน้อยเท่าไหร่


ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายในการใช้สูตรคำนวณค่าความร้อนที่ฟิล์มลดได้คือ เช่น 

100% -(0.43* %ค่าแสงส่องผ่าน  + 0.54*%ค่าอินฟาเรดส่องผ่าน + 0.3*%ค่ายูวีส่องผ่าน) 

ยกตัวอย่างเช่น  ในเอกสารลงคุณสมบัติฟิล์ม แสงผ่าน 40%  ลดอินฟาเรด 90%(= ผ่าน 10%) ลดยูวี 99%  ค่าการลดความร้อนรวมจะเป็น

0.43x40% (=17.2%) +  0.54*10%(=5.4%) + 0.3*1%(=0.3)  รวมเป็นลดความร้อนได้  100-( 17.2 + 5.4 + 3) =  74.4% 

ในความเป็นจริงฟิล์มสเป๊กนี้จะมีค่าการลดความร้อนประมาณ 50-55% เท่านั้น เกิดความผิดพลาดถึง 20-25%!!!

ซึ่งหากนำฟิล์มสเป๊คนี้ไปติดตั้งใช้จริง จะรู้สึกอุ่นๆ ไม่ได้เย็นอย่างที่ตัวเลขแจ้งไว้ เพราะสมการนี้เป็นคำนวณจากค่าการลดอินฟาเรด หรือแสงสว่างส่องผ่านที่ได้มาจาก เครื่องมือที่ใช้กันทั่วไป เป็นการวัดค่าแค่บางจุด ไม่ใช่ค่าทั้งหมดชองแสงอาทิตย์ จึงเกิดความผิดพลาดอย่างมาก

ดังนั้น ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูที่ถูกทดสอบด้วยเครื่องมือมาตรฐานจึงให้ค่าการลดความร้อนที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และนี่คือสาเหตุที่ทำไมค่าการลดความร้อนของอีโค่บลูน้อยกว่าฟิล์มอื่นๆ แต่ให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า

ยังมีความเข้าใจผิด ว่าติดฟิล์มลดอินฟาเรดมากๆดีๆ แล้วต้องไม่ร้อน คำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป

ในความเป็นจริง ฟิล์มทำหน้าที่ลดความร้อนเข้าสู่ตัวรถ และแอร์รถยนต์ทำหน้าที่ทำความเย็น เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ไม่เปิดแอร์ขับรถคงเหมือนอยู่ในเตาอบแน่นอน ดังนั้นแม้จะใช้ฟิล์มที่ดีที่สุดก็ยังคงร้อนได้ ถ้าแอร์ไม่ดี ปรับแอร์ไม่เหมาะสม  แต่จะรู้สึกร้อนน้อยหรือมาก และระคายเคืองผิวมากน้อยแค่ไหน  เป็นเรื่องของระบบประสาทรับรู้ส่วนบุคคล แต่ละคนรู้สึกร้อนไม่เท่ากัน เช่น คนอ้วนร้อนง่ายกว่าคนผอม คนที่ทำงานต่างกันก็มีความรู้สึกร้อนได้ต่างกัน และรวมไปถึงความร้อนที่เข้าไปในรถยังมีผลมาจากรูปแบบโครงสร้าง มุมองศา วัสดุของรถแต่ละรุ่นด้วย แต่การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ลดอินฟาเรดมากกว่า 95% ช่วยให้รู้สึกร้อนน้อยกว่า และเย็นเร็วกว่า  

"ไม่จริง” เนื่องจากปัจจุบัน ฟิล์มเซรามิคถูกเข้าใจผิดว่า ใช้แล้วจะเย็น จริงๆแล้วแบบไม่เป็นทางการ ฟิล์มเซรามิค วัดกันที่ ค่าการลดความร้อนรังสีอินฟาเรด ซึ่งจะแยกประสิทธิภาพคร่าวๆได้ประมาณนี้

50-70%=พอใช้     70-80% =ปานกลาง     80-90% =ปานกลาง-ดี      95-99% =ดีมาก

การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ 95% จะให้ความรู้สึกที่เย็น แตกต่างจากฟิล์มอื่นอย่างชัดเจน  แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มเซรามิคที่ติดตั้งไปเป็นเกรดไหน

ดูรหัสและสามารถวัดฟิล์มได้จากเครื่องมือที่มีอยู่ทีศุนย์ติดตั้งได้ทันที

เข้มนอกสว่างใน เข้มแต่เคลียร์ เป็นเทคนิกการติดตั้งฟิล์ม ที่อาศัยความแตกต่างของแสงระหว่างภายนอก และภายในของรถยนต์ทำให้  คนภายในรถเห็นภายนอกได้สว่าง แต่คนภายนอกรถเห็นภายในรถได้ยาก  โดยมีหลักคร่าวๆว่า ให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้มากที่กระจกบังลมหน้า เช่น 20%  ส่วนกระจกส่วนที่เหลือให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้น้อยเช่น 5%

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy