However, for the person cleaning the window; if this person is not informed of the presence of self cleaning windows then it is highly probable that the windows will be damaged. Unfortunately, once the coating has been damaged, repair is impossible.
Depending on the local conditions, you can expect your self-cleaning window treatment to last for between 3-10 years.
To remove difficult stains, use a soft cloth and solvent-free soapy water. Rinse and repeat the process if necessary. For really stubborn stains, use a non-abrasive liquid glass cleaner. Always use a clean cloth and do not rub dirt or debris from your cloth onto the surface of the glass
A simple test is to spray water at the surface and compare it with ordinary glass,. You will see the water sheet off the glass rather than form lots of rivulets. Silicone-contaminated surfaces will also form rivulets similar to ordinary glass.
When self-cleaning glass coating solarclean has been applied, it may take up to seven days to become fully activated. This is because the activation of the glass occurs via a chemical reaction between UV rays from natural daylight, oxygen and the coating
Self-cleaning glass is a specific type of glass with a surface that keeps itself free of dirt and grime. The field of self-cleaning coatings on glass is divided into two categories: hydrophobic and hydrophilic. Solarclean is hydrophillic.
ฟิล์มนิรภัย (safety film ) และ ฟิล์มกันภัย (security film)
ฟิล์มทั้งสองชนิดมีโครงสร้างคล้ายกับฟิล์มกรองแสง แต่มีความหนากว่าและมีกาวที่เหนียวกว่าเพื่อการยึดเกาะกระจกได้ดีกว่า
ฟิล์มนิรภัย (safety film) จะเป็นฟิล์มที่มีความหนาประมาณ 4-6 มิว (100-150 ไมครอน) หรือประมาณ 2-4 เท่า ของฟิล์มกรองแสงทั่วไป การใช้งานคือลดโอกาสการบาดเจ็บจากกระจกแตกจากอุบัติเหตุ ไม่เน้นการลดอันตรายจากอาวุธหรือลดโอกาสการบุกรุก
ฟิล์มกันภัย (securityty film) จะเป็นฟิล์มที่มีความหนาประมาณ 8-21 มิว (200-450 ไมครอน) หรือประมาณ 5-10 เท่า ของฟิล์มกรองแสงทั่วไป การใช้งานคือลดโอกาสการบาดเจ็บจากกระจกแตกจากอุบัติเหตุ ลดโอกาสการบุกรุก และลดอันตรายจากอาวุธ
ซึ่งฟิล์มสองชนิดจะมีมาตรฐานการทดสอบต่างกัน คือ มาตรฐานนิรภัย(safety standard) ทดสอบโดยใช้กระสอบหนังผิวนุ่ม กับมาตรฐานกันภัย (security standard) ที่ทดสอบโดยใช้ลูกเหล็ก
อย่างไรก็ตามมีเทคโนโลยีฟิล์มแบบซ้อนไขว้หลายชั้น multilayer ที่ทำให้ฟิล์มมีความหนาน้อยลงแต่มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับฟิล์มชนิดหนาจากเทคโนโลยีเดิมได้
เพิ่มเติม
http://protectiveglazing.com/.../Safety-Security-Film...
เวลาที่ใช้ในการทุบกระจกที่ติดฟิล์มกันภัย i-gard safecoat หนา 12-20 มิว เพื่อที่เข้าสู่อาคาร จะแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น อาวุธที่ใช้ ความแข็งแรงของผู้บุกรุก แรงที่ใช้ในการทุบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้บุกรุกไม่แข็งแรง ใช้ไม้ทุบเบาๆ เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง อาจใช้เวลานานหลายสิบนาที หรือเป็นคนตัวใหญ่ ใช้ค้อนเหล็กทุบกระจกแรงๆโดยไม่กลัวว่าจะมีคนได้ยินเสียง อาจใช้เวลาไม่กี่นาที
กระจกที่ติดฟิล์มกันภัย i-gard safecoat เพิ่มความปลอดภัย ด้วยการช่วยหน่วงเวลาและทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้บุกรุกเปลี่ยนเป้าหมายไปที่อื่นได้
อย่างไรก็ตามควรใช้ ฟิล์มกันภัย i-gard safecoat ร่วมกับอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ เช่น สัญญาณเตือนภัย กล้องวงจรปิด มุ้งลวดนิรภัย กลอนประตูที่แข็งแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เหล็กดัดและคงความปลอดภัยและคงความสวยงามให้มากที่สุด
โดยหลักการทำงานของฟิล์มกันภัย Safecoat ที่ความหนา 300 ไมครอน เนื้อฟิล์มที่ผลิตจาก Mylar Polymer จะมีความเหนียวและยืดหยุ่นสูงยากต่อการฉีกขาดและทะลุ ทำให้ทนแรงกระแทกได้ดี ฟิล์มกันภัยจะมาพร้อมชั้นกาวพิเศษที่ยึดติดกับเนื้อกระจก เมื่อกระจกแตกร้าวจากแรงที่เกิดจากการทุบทำลาย ที่ทำให้กระจกแตก ฟิล์มจะช่วยลดโอกาสการทะลุ และกระจายแรงออกไปทั่วแผ่นกระจก ชั้นกาวพิเศษนี้จะช่วยยึดเศษกระจกเอาไว้ให้คงเป็นแผ่นเอาไว้ ซึ่งทำให้กระจกที่ติดฟิล์มกันภัย Safecoat สามารถทนแรงกระแทกซ้ำได้หลายครั้ง โดยการทุบทำลายกระจกที่ติดตั้งฟิล์มกันภัย Safecoat จะทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งจะช่วยเตือนผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงถึงการการบุกรุกที่เกิดขึ้น และอาจทำให้ผู้บุกรุกเปลี่ยนเป้าหมายได้ ซึ่งแตกต่างจากเหล็กดัดที่ใช้สกรูขันที่สามารถถูกถอดออกได้อย่างง่ายดายและไม่มีเสียง อย่างไรก็ตามฟิล์มกันภัย Safecoat เป็นวัสดุที่ทำหน้าหน่วงเวลาและลดโอกาสการบุกรุกและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกระจกเท่านั้น จึงควรใช้ควบคู่ไปกับอุปกรณ์ล๊อกประตู หน้าต่าง และสัญญาณเตือนภัยชนิดต่างๆเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและความปลอดภัยสูงสุด
ดูการทุบกระจกที่ติดฟิล์มกันภัย Safecoat ได้ที่หน้า video
ไม่มีกระจกชนิดใดไหนโลก ที่ทุบไม่แตก การติดฟิล์มกันภัย ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระจกธรรมดาให้ รับแรงกระแทกได้มากขึ้น แตกยากขึ้นและทะลุยากขึ้นเท่านั้น เพื่อช่วงหน่วยเวลาหรือทำให้ผู้บุกรุกเปลี่ยนเป้าหมาย
การติดตั้งฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatสามารถติดตั้งได้หลายวิธี เช่น การติดตั้งเต็มบาน การติดเท่ากับขอบกระจกและยิงซิลิโคนแรงดึงสูงเพื่อเสริมความแข็งแรงตามขอบกระจก อย่างไรก็ตามการติดตั้งฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoat บนกระจกเต็มบานก่อนการติดตั้ง การติดตั้งต้องทำอย่างระมัดระวังและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatสามารถติดตั้งได้กับกรอบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ไม้ อลูมิเนียม หรือ ยูพีวีซี และเมื่อติดตั้งจะมีการยิงซิลิโคนแรงดึงสูงเพื่อเสริมความแข็งแรงตามขอบกระจกทุกครั้ง
ฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatไม่ใช่ผลิตภัณฑ์กันกระสุน ถึงแม้ว่าเมื่อติดตั้งฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatชนิดที่มีความหนา 15 มิวขึ้นไปกับกระจกหนา 12 มิลลิเมตร กระจกจะมีประสิทธิภาพในการต้านทานอาวุธปืน แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกระจกกันกระสุน และการเรียกฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoat ชนิดนี้ว่าฟิล์มกันกระสุนเป็นการเรียกตามความเข้าใจของของลูกค้าเท่านั้น
เมื่อติดตั้งฟิล์มกันภัย Safecoat ความหนา 300 ไมครอน บนกระจกความหนา 5 มม กระจกจะมีความแข็งแรงผ่านมาตราฐานกระจกนิรภัย ฺBS EN 12600 2B2, ANSI Z97.1 และ CPSC CFR 1201
ฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatสามารถติดตั้งได้กับกระจกธรรมดาผิวเรียบความหนาตั้งแต่ 3 มิลลิเมตรเป็นต้นไป เมื่อความหนากระจกมากขึ้นความแข็งแรงจะมากขึ้น ฟิล์มกันภัย i-Gard SafeCoatไม่สามารถติดตั้งบนผิวที่เรียบไม่เท่ากัน เช่น ด้านเจียร หรือด้านพ่นทราย รวมถึงกระจกที่เคลือบสีทุกชนิด
การลดความร้อน กระจก LAMKOOL เปรียบเทียบกัย กระจก LOW E และ IG/Low E
การเปรียบเทียบในที่นี้ จะเปรียบกับ กระจก LOW-E ชนืด Hardcoat - Low-E บนกระจกใส หนา 3 มม เท่านั้น
โดยการเปรียบเทียบ จะมี 3 ส่วน คือ 1. การลดความร้อนจากแสงแดด 2. ความร้อนจากอากาศร้อนผ่านเนื้อกระจก และ 3. การลดความร้อนโดยรวม
จากตารางหน้า
ค่า SHGC , ค่า U % และความร้อนผ่านกระจกที่คำนวณได้จากการจำลอง ของกระจกทั้ง 3 ชนิด มีดังนี้
LAMKOOL(LKF360): SHGC = 0.46, 5.6, 104
Low-E: SHGC = 0.71,4.3, 138
IG Low-E (6+air6+6): SHGC = 0.66, 2.5, 121
1. หากดูการลดความร้อนผ่านแสงแดดอย่างเดียว
LAMKOOL ดีกว่า IG-Low-E ดีกว่า Low-E
2. หากดูการลดความร้อนผ่านเนื้อกระจกอย่างเดียว
IG Low-E ดีกว่า Low-E ดีกว่า Lamkool
3. ดูการลดความร้อนรวมทั้ง 2 อย่าง จะพบว่า
LAMKOOL ดีกว่า IG-Low-E ดีกว่า Low-E
LAMKOOL ดีกว่า IG Low-E 15%
LAMKOOL ดีกว่า Low-E 25%
นั่นคือสาเหตุทำไมจึงควรใช้ กระจก LAMKOOL เป็นผนังอาคารเพื่อการลดความร้อน
กระจก LAMKOOl ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่พักอาศัยทั่วไป อาคารประหยัดพลังงาน หรืออาคารเขียวโดยเฉพาะ โดยประสิทธิภาพการลดความร้อความร้อนของกระจก LAMKOOL สามารถปรับแต่งไปตามความต้องการของผู้ออกแบบ และความเหมาะสมกับความจำเป็นของอาคารนั้นๆ
เช่นสำหรับอาคารสูง กระจก LAMKOOL สามารถออกแบบให้มีค่า SHGC ต่ำกว่า 0.3 ได้ในขณะที่ยังให้ความสว่างมากถึง 50% โดยเงาสะท้อนตำกว่า 20%
เมื่อออกแบบหรือขณะสร้างอาคาร เจ้าของอาคารอาจมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องการคุณสมบัติการลดความร้อน แต่กว่า 70% เจ้าของอาคารจะประสบกับปัญหาความร้อนจากแสงแดดในภายหลัง และจำเป็นต้องติดตั้งฟิล์มกรองแสงเพิ่มเติม ซึ่งฟิล์มคุณภาพดีมีราคาสูง
ประสิทธิภาพการลดความร้อนของกระจก LAMKOOL นั้นเทียบเท่าได้กับประสิทธิภาพของฟิล์มกรองแสงเซรามิคเกรดพรีเมี่ยมที่ลดรังสีความร้อนในแสงแดดได้ 96% ขึ้นไป
ดังนั้นทางบริษัทจึงแนะนำให้ลูกค้าที่สร้างอาคารใช้กระจกชนิดนี้หากลักษณะอาคารมีผลกระทบจากแสงแดด เนื่องจากการใช้กระจกตั้งแต่ก่อสร้างจะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการติดตั้งฟิล์มเซรามิคเกรดพรีเมี่ยมในภายหลัง
รวมไปถึงอายุการใช้งาน การดูแลรักษาของกระจกที่ทนทานและยาวนานกว่าฟิล์ม
ประสิทธิภาพการลดความร้อนของกระจก LAMKOOL นั้นเทียบเท่าได้กับประสิทธิภาพของฟิล์มกรองแสงเซรามิคเกรดพรีเมี่ยมที่ลดรังสีความร้อนในแสงแดดได้ 96% ขึ้นไป
ดังนั้นทางบริษัทจึงแนะนำให้ลูกค้าที่สร้างอาคารใช้กระจกชนิดนี้หากลักษณะอาคารมีผลกระทบจากแสงแดด เนื่องจากการใช้กระจกตั้งแต่ก่อสร้างจะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการติดตั้งฟิล์มเซรามิคเกรดพรีเมี่ยมในภายหลัง
รวมไปถึงอายุการใช้งานของกระจกที่ยาวนานกว่าฟิล์ม
หากต้องการทราบราคาโดยประมาณสามารถทำได้โดยวัดขนาดกระจกแต่ละบาน ในแต่ละชุด และจำนวน เช่น กระจกบานเลื่อน 1 ชุด มีบานเลื่อนกลาง 2 บาน และบานติดตาย 2 บาน วัดขนาดบานเลื่อนกลาง ได้ 50x100 = 2 บาน ขนาดบานติดตายได้ 50x110 =1 บาน และ 45x108=1 บาน หรือส่งแบบขยายประตูหน้าต่างตามตัวอย่างรูปด้านบน มาที่
ส่งรายละเอียดมาที่ email: atsyscompany@gmail.com
พร้อม ชื่อ และเบอร์ติดต่อกลับ เมื่อทางบริษัทเมื่อได้รับข้อมูลจะติดต่อท่านกลับไป หากท่านไม่ให้เบอร์ติดต่อกลับ ท่านอาจจะไม่ได้รับอีเมล์เนื่องจากอีเมล์ของบริษัทอาจจะถูกส่งเข้าไปใน junk mail ของท่าน
ผู้ใช้สามารถเลือกความปลอดภัยของกระจกกันภัย Lamkool ได้หลายระดับโดยเริ่มต้นจากความหนา 6.4 มมซึ่งเป็นระดับนิรภัยลดโอกาสการบุกรุกเบื้องต้น หรือสามารถเพิ่มความหนาเป็น 6.8 มมสำหรับการลดโอกาสการบุกรุกที่มากขึ้น หรือ 7.2 มม ซึ่งระดับความปลอดภัยสูงขึ้น โดยทั่วไปกระจกกันภัย Lamkool ที่ผลิตจากกระจกและชั้น PVB นั้น ที่ความหนา 6.4 มม มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ANSI Z97.1 และความหนา 6.8 และ 7.2 มม มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน CPSC CFR และ UL972
กระจกนิรภัยลดความร้อน Lamkool:
คุณสมบัติที่ครบถ้วนทั้งความปลอดภัยและความประหยัด
กระจก LAMKOOL คือกระจกที่ผสมผสานนาโนเทคโนโลยีเข้ากับเทคโนโลยีกระจกนิรภัยทำให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ในแผ่นเดียวกัน
Lamkool สามารถลดโอกาสการบุกรุกโจรกรรมได้ด้วยชั้นฟิล์มนาโนเซรามิกโพลีเมอร์ที่ทำหน้าที่ยึดชั้นกระจกแตกเอาไว้แม้ว่าจะถูกแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากภายนอก ทำให้กระจกแตกสามารถรองรับแรงกระแทกได้หลายครั้ง ถึงแม้กระจกจะแตกไปแล้ว
ผู้ใช้ยังสามารถเลือกเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการติดตั้งโพลีเมอร์ i-GARD SAFECOAT ด้านในได้อีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความปลอดภัย
ในตลาดมีฟิล์มหลากหลายชนิด โดยทั่วไปแบ่งได้คือ
ฟิล์มย้อมสี ฟิล์มโลหะทั่วไป และฟิล์มเซรามิคอื่นๆ
ฟิล์มโลหะทั่วไปผลิตจากโลหะเช่น อลูมิเนียม นิกเกิ้ลหรือบรอนซ์ ซึ่งฟิล์มโลหะเหล่านี้สามารถผลิตให้สามารถลดความร้อนสูงได้แต่จะมีเงาสะท้อนสูงและค่อนข้างมืด รวมทั้งอาจรบกวนสัญญาณสื่อสารได้ด้วย ส่วนฟิล์มเซรามิคไม่มีเงาสะท้อน ความสามารถในการลดความร้อนจะขึ้นกับคุณสมบัติของฟิล์มว่ามีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากน้อยเท่าไหร่ เช่น ลดรังสีอินฟาเรดน้อยกว่า 80% ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่ายังลดความร้อนได้น้อย ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดในแต่ละรุ่นมากกว่า 90% เป็นต้นไป เงาสะท้อนต่ำ ไม่มีปัญหาเรื่องรบกวนสัญญาณ (ยกเว้นบางรุ่น) สามารถเลือกความเข้มของฟิล์มได้หลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับความสบายตลอดเวลาในการใช้งาน
ฟิล์มเซรามิคมีหลากหลายประสิทฺธิภาพ ถ้าสว่างเท่ากัน ฟิล์มเซรามิคที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากกว่า จะให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างนี้ได้ด้วยตาเปล่า เบื้องต้นสามารถใช้สเปกโตโฟเตอร์มิเตอร์แบบพกพา วัดค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่บางค่า ( 900,1400 nm) ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรด มากกว่า 90% ทำให้รู้สึกเย็นทุกขณะการขับขี่ ( ค่าคุณสมบัติอื่นๆ ปรึกษาผู้จำหน่าย )
รังสีอินฟาเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งในแสงแดดที่มาจากดวงอาทิตย์ พร้อมๆกับคลื่นแสงสว่าง คลื่นยูวี และคลื่นอืนๆ รังสีอินฟาเรดในแสงแดดอยู่ระหว่างช่วงคลื่น 750-2500 nm ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของพลังงานจากแสงแดด ประเด็นสำคัญคือรังสีอินฟาเรดมีผลต่อระบบประสาทรับรุ้ความรู้สึกร้อนของมนุษย์ โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า รังสีอินฟาเรดทำให้โปรตีนที่ทำหน้าที่เปิดปิดการนำกระแสไฟฟ้าไปยังสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกร้อนให้ทำงาน ดังนั้นเมื่อฟิล์มเซรามิค ECOBLUE ลดอินฟาเรดได้มากสูงสุดถึง 99% จึงทำให้คนรู้สึกร้อนน้อยลงได้อย่างทันที แสงสว่างในแสงแดดสามารถเปลี่ยนเป็นความร้อนได้เช่นกันแต่ใช้เวลานานกว่า ดังนั้นการใช้ฟิล์มอีโค่บลูจึงให้ทั้งความสบายและความสว่างในการขับขี่ (ดูเพิ่มเติม Solar Radiation ใน internet)
ในทางทฤษฎี การศึกษาเรื่องการลดความร้อนจากแสงแดดของวัสดุ จะดูค่า สัมประสิทธิ SHGC solar heat gain coefficient และค่า U-value เป็นหลัก แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในด้านฟิล์มกรองแสง จึงได้มีการพิจารณา การลดความร้อนรวม ซึ่งเท่ากับค่า 1-SHGC อย่างไรก็ตามสำหรับฟิล์มเซรามิคที่เน้นในส่วนการลดรังสีอินฟาเรดใช้การระบุว่าฟิล์มสามารถลดรังสีอินฟาเรดได้สูงสุดเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาที่ค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400 nm ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มาก มีแนวโน้มให้ความสบายต่อความรู้สึกได้ดีกว่าฟิล์มที่ลดรังสีอินฟาเรดน้อย เนืองจากเหตุผลทางด้านระบบประสาทรับรู้ความรู้สึก แต่ไม่ได้หมายความว่า ในแง่ของการประหยัดพลังงานโดยรวม ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มากกว่าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่า เนื่องจากมีหลายองค์ประกอบในการพิจารณาการลดความร้อนรวจากแสงแดด ซึ่งหากต้องการค่าที่ถูกต้อง จะต้องทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่อง Spectrophotometer ในการวัดค่าทางพลังงานต่างๆ (ดูหัวข้อ Heat Transfer ใน internet)
ปัจจุบัน การติดตั้งฟิล์มจะเลือกจากค่าความสว่าง ซึ่งไม่ได้มีมาตรฐานใดกำกับ โดยส่วนใหญ่จะใช้ 1) ค่า % แสงส่องผ่าน 2) ค่าความเข้ม
1) % ค่าแสงส่องผ่าน เป็นค่า % ช่วงคลื่นแสงสว่างที่ผ่านกระจกติดฟิล์มในช่วง 380-750 nm ที่ผ่านมาได้มากที่สุด ฟิล์มกรองแสงที่ใช้วัสดุต่างชนิดกัน จะให้ % ค่าแสงส่องผ่านสูงสุดได้เท่ากันแต่อาจจะคนละช่วงคลื่น เช่น ฟิล์ม A % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 650 nm แต่ฟิล์ม B มี % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 700 nm
2) ค่าความเข้ม เพื่อความง่ายและสะดวกในการติดตั้งจะใช้วิธีเรียกแบบความเข้ม เช่น ความเข้ม 40, 60 หรือ 80% ซึ่งเป็นการเลือกโทนหรือความเข้มฟิล์มแบบตร่าวๆเท่านั้น ซึ่งการเรียกความเข้มของฟิล์มติดรถยนต์ไว้ 3 ระดับ คือ 40/60/80 เป็นความเข้าใจผิด และควรเรียกความเข้มของฟิล์มโดยพิจารณาค่าแสงสว่างส่องผ่าน (Visible light transmission )VLT ระดับความเข้มของฟิล์มที่ระบุ 40/60/80 จะให้ช่วงแสงส่องผ่านในระดับประมาณนี้
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 18-20 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5-10 %
ดังนั้นทางบริษัทแนะนำให้เจ้าของรถดูตัวอย่างฟิล์มจริงก่อนติดตั้ง อย่างไรก็ตาม การดูตัวอย่างฟิล์มจริงกับการติดตั้งสามารถให้สีที่แตกต่างกันได้อันเนื่องมาจากผลกระทบจากความสว่างและเฉดสีของฟิล์มส่วนอื่นๆ
ยังมีความเข้าใจผิด ว่าติดฟิล์มลดอินฟาเรดมากๆดีๆ แล้วต้องไม่ร้อน คำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป
ในความเป็นจริง ฟิล์มทำหน้าที่ลดความร้อนเข้าสู่ตัวรถ และแอร์รถยนต์ทำหน้าที่ทำความเย็น เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ไม่เปิดแอร์ขับรถคงเหมือนอยู่ในเตาอบแน่นอน ดังนั้นแม้จะใช้ฟิล์มที่ดีที่สุดก็ยังคงร้อนได้ ถ้าแอร์ไม่ดี ปรับแอร์ไม่เหมาะสม แต่จะรู้สึกร้อนน้อยหรือมาก และระคายเคืองผิวมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องของระบบประสาทรับรู้ส่วนบุคคล แต่ละคนรู้สึกร้อนไม่เท่ากัน เช่น คนอ้วนร้อนง่ายกว่าคนผอม คนที่ทำงานต่างกันก็มีความรู้สึกร้อนได้ต่างกัน และรวมไปถึงความร้อนที่เข้าไปในรถยังมีผลมาจากรูปแบบโครงสร้าง มุมองศา วัสดุของรถแต่ละรุ่นด้วย แต่การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ลดอินฟาเรดมากกว่า 95% ช่วยให้รู้สึกร้อนน้อยกว่า และเย็นเร็วกว่า
มีความเป็นไปได้น้อยมาก และต้องระบุว่าค่าความร้อนดังกล่าวคือค่าอะไร ใช้วิธีการวัดค่าอย่างไร ตามมาตรฐานไหน โดยเฉลี่ยฟิล์มที่แสงสะท้อนต่ำกว่า 10% แสงผ่าน 40% ค่าการลดความร้อนรวมสูงสุดประมาณ 50-60% ส่วนแสงสว่างที่ลดลงมีผลต่อการลดความร้อนรวมค่อนข้างน้อย ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูถูกทดสอบด้วยการวัดค่าทางแสงและความร้อนตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) และ ISO 10292:1994(E) ด้วยเครื่องมือ Spectrophotometer Perkin Elmer Lamda 250
ในส่วนของการระบุค่าการลดรังสีอินฟาเรดอย่างง่ายจะเป็นการระบุเฉพาะจุดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400 nm แต่สามารถตรวจสอบกราฟสเปกตรัมของฟิล์มแต่ละชนิดได้เพื่อดูว่าฟิล์มสามารถลดอินฟาเรดในแต่ละจุดช่วงคลื่นอินฟาเรดได้มากน้อยเท่าไหร่
ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายในการใช้สูตรคำนวณค่าความร้อนที่ฟิล์มลดได้คือ เช่น
100% -(0.43* %ค่าแสงส่องผ่าน + 0.54*%ค่าอินฟาเรดส่องผ่าน + 0.3*%ค่ายูวีส่องผ่าน)
ยกตัวอย่างเช่น ในเอกสารลงคุณสมบัติฟิล์ม แสงผ่าน 40% ลดอินฟาเรด 90%(= ผ่าน 10%) ลดยูวี 99% ค่าการลดความร้อนรวมจะเป็น
0.43x40% (=17.2%) + 0.54*10%(=5.4%) + 0.3*1%(=0.3) รวมเป็นลดความร้อนได้ 100-( 17.2 + 5.4 + 3) = 74.4%
ในความเป็นจริงฟิล์มสเป๊กนี้จะมีค่าการลดความร้อนประมาณ 50-55% เท่านั้น เกิดความผิดพลาดถึง 20-25%!!!
ซึ่งหากนำฟิล์มสเป๊คนี้ไปติดตั้งใช้จริง จะรู้สึกอุ่นๆ ไม่ได้เย็นอย่างที่ตัวเลขแจ้งไว้ เพราะสมการนี้เป็นคำนวณจากค่าการลดอินฟาเรด หรือแสงสว่างส่องผ่านที่ได้มาจาก เครื่องมือที่ใช้กันทั่วไป เป็นการวัดค่าแค่บางจุด ไม่ใช่ค่าทั้งหมดชองแสงอาทิตย์ จึงเกิดความผิดพลาดอย่างมาก
ดังนั้น ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูที่ถูกทดสอบด้วยเครื่องมือมาตรฐานจึงให้ค่าการลดความร้อนที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และนี่คือสาเหตุที่ทำไมค่าการลดความร้อนของอีโค่บลูน้อยกว่าฟิล์มอื่นๆ แต่ให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า
"ไม่จริง” เนื่องจากปัจจุบัน ฟิล์มเซรามิคถูกเข้าใจผิดว่า ใช้แล้วจะเย็น จริงๆแล้วแบบไม่เป็นทางการ ฟิล์มเซรามิค วัดกันที่ ค่าการลดความร้อนรังสีอินฟาเรด ซึ่งจะแยกประสิทธิภาพคร่าวๆได้ประมาณนี้
50-70%=พอใช้ 70-80% =ปานกลาง 80-90% =ปานกลาง-ดี 95-99% =ดีมาก
การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ 95% จะให้ความรู้สึกที่เย็น แตกต่างจากฟิล์มอื่นอย่างชัดเจน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มเซรามิคที่ติดตั้งไปเป็นเกรดไหน
ดูรหัสและสามารถวัดฟิล์มได้จากเครื่องมือที่มีอยู่ทีศุนย์ติดตั้งได้ทันที
ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูรุ่น MAX VK ถูกเคลือบด้วยชั้นเงินและเซรามิคกว่า 9 ชั้นซึ่งทำให้มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าฟิล์มเซรามิคอื่นๆนั่นคือ สามารถสะท้อนรังสีอินฟาเรด โดยที่ไม่สะท้อนแสงสว่าง อมความร้อนน้อย ลดความร้อนได้มากกว่าฟิล์มเซรามิคเทคโนโลยีอื่นๆที่ความสว่างใกล้เคียงกัน
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูรุ่น MAX VK ทำให้เกิดการรบกวนของสัญญาณสื่อสารของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ รวมไปถึง การติดตั้งอาจเกิดคลื่นๆ หรือรอย"ฝ้าขาว" ในบางจุด เป็นผลเนื่องมาจากการใช้ความร้อนในการขึ้นรูปฟิล์มสำหรับรถยนต์ในบางรุ่นที่กระจกมีความโค้งมาก ซึ่งทางบริษัทถือว่าเป็นความปรกติในการติดตั้งและสงวนสิทธิในการเปลี่ยนฟิล์มให้ใหม่่จากเหตุดังกล่าว
ไม่ควรกดกระจกขึ้นลงใน 7-15 วัน
ไม่ควรทำความสะอาดฟิล์มด้านใน 15-30 วัน
ไม่ควรติดตั้งที่ดูดสุญญากาศบนผิวกระจกหน้าใน 30 วันหลังติดตั้ง
การทำความสะอาดใช้สบู่เหลวหรือน้ำยาเช็ดกระจกที่ไม่มี "แอมโมเนีย"
ในระหว่างรอฟิล์มแห้ง ประมาณ 7-15 วัน จะเกิดคลื่น ตุ่ม ฟองซึ่งเป็นน้ำยาที่เหลือจากการติดตั้ง ห้ามเช็ด ถู ขยี้ อาจทำให้ฟิล์มเสียหายได้ ซึ่งฟิล์มจะแห้งเร็วมากขึ้นหากอากาศร้อน หรือจอดรถตากแดด
เข้มนอกสว่างใน เข้มแต่เคลียร์ เป็นเทคนิกการติดตั้งฟิล์ม ที่อาศัยความแตกต่างของแสงระหว่างภายนอก และภายในของรถยนต์ทำให้ คนภายในรถเห็นภายนอกได้สว่าง แต่คนภายนอกรถเห็นภายในรถได้ยาก โดยมีหลักคร่าวๆว่า ให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้มากที่กระจกบังลมหน้า เช่น 20% ส่วนกระจกส่วนที่เหลือให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้น้อยเช่น 5%
หลอดไฟสีแดงหรือหลอดอินฟาเรดนั้น จะปล่อยรังสีอินฟาเรดในบางช่วงคลื่นออกมา ซึ่งขึ้นกับการผลิตว่าเป็นช่วงคลื่นใด ซึ่งจะแตกต่างจากความร้อนของแสงอาทิตย์ในเวลาขับรถค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น หลอดอินฟาเรด OSRAM 250w จะปล่อยช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดส่วนใหญ่เฉพาะในช่วง 1100 nm ในขณะที่แสงแดดมีค่าอินฟาเรดตั้งแต่ 750-2500 nm ซึ่ง หากฟิล์มใดสามารถลดรังสีอินฟาเรดในช่วง 1000 nm นี้ได้มาก ผู้ทดสอบจะรู้สึกเย็น
การทดสอบเช่นนี้คล้ายกับการวัดฟิล์มด้วย spectrophotometer แบบพกพา คือเป็นการแสดงประสิทธิภาพของฟิล์มอย่างง่ายๆ แต่จะแม่นยำน้อยกว่าการใช้มิเตอร์
ต้องยอมรับว่า ในเมืองไทย กรุงเทพ ฝุ่นละอองเยอะ โดยเฉพาะในบางสถานที่ ในการติดตั้งฟิล์ม สามารถมีเม็ดฝุ่นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย แม้ว่าจะติดตั้งในห้องปิด เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น เช่น ฝุ่นที่อยู่ในรถ หรือตามซอกขอบประตู ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด 100% ซึ่งฝุ่นผงละเอียดเหล่านี้สามารถปลิวฟุ้งขึ้นมาติดบนกระจกได้ในขณะที่ติดตั้ง
และฝุ่นเหล่านี้อาจจะมองไม่เห็น หากใช้ฟิล์มที่มีความสว่าง 60-70% แต่หากติดฟิล์มที่มีความเข้มมากๆ จะเห็นฝุ่นละอองเหล่านี้ได้มากขึ้น
และหากฟิล์มมีความหนามากขึ้น เช่น 2 มิว เม็ดฝุ่นจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากความหนาของฟิล์มทำให้ไม่สามารถเก็บรายละะเอียดให้เล็กลงได้
ดังนั้น ร้านติดตั้งจะไม่ได้ให้การรับประกันเปลี่ยนฟิล์มสำหรับในกรณีที่เกิดฝุ่นละอองติดอยู่ที่ฟิล์มบ้าง
ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง อาจเห็นรอยขาวที่บริเวณจุดไข่ปลา หรือเส้นไล่ฝ้าได้ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ สำหรับรถบางคัน บางรุ่น และฟิล์มบางชนิด เนื่องจากบริเวณจุดไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ขนาดของจุดไข่ปลาและเส้นไล่ฝ้าของรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งความหนาของฟิล์มที่ใช้ในการติดตั้ง ทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากน้อยแตกต่างกันไป ความเข้มของฟิล์มก็มีส่วน ถ้าติดฟิล์มที่มีความเข้มมาก จะทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น
ในการติดตั้งหรือเปลี่ยนฟิล์มใหม่ หากเห็นอาการเหล่านี้ เป็นเรื่องปรกติ
กาวบนฟิล์มกรองแสงถูกออกแบบมาเพื่อให้ยึดติดกับฟิล์มกระจกได้ดี แต่บนผิวอื่นๆเช่น สีสกรีน ไข่ปลา กาวอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้
ดังนั้นอาจเกิดปัญหาฟิล์มหลุดลอกบริเวณไข่ปลาด้านหน้าช่วงกระจกมองหลัง หรือที่บริเวณขอบกระจก
แต่หากสกรีนไข่ปลาของกระจกด้านหน้าอยู่ในระหว่างชั้นกระจก ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นการหลุดลอกของฟิล์มบริเวณไข่ปลาถือเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งแก้ไขได้โดย
ทากาว หรือกรีดฟิล์มบริเวณนั้นออกไป
ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง เนื่องจากบริเวณเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดช่องอากาศ ซึ่งหลังจากติดตั้งฟิล์มใหม่ๆ ในช่องเหล่านี้จะมีของเหลวพวกน้ำยาติดตั้งที่ยังไม่แห้งขังอยู่ จึงทำให้เกิดการหักเหของแสงไฟของรถข้างหลัง และเห็นซ้อนเป็นชั้นๆ อาจมีการพล่ามัวของแสงไฟในบางโอกาส อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น เพราะน้ำยาที่ขังอยู่ระหว่างเส้นไล่ฝ้าจะระเหยหายไป ซึ่งลดการหักเหของแสง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้ยังคงมีได้แม้ว่าฟิล์มจะแห้งตัวดีแล้ว
เนื่องจากฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูบางรุ่นใช้เทคโนโลยีการปั่น Grinding ผงเซรามิคให้มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการลดความร้อนในแสงแดดสูงมากที่สุด เพื่อความเย็นสบาย ทำให้บางครั้งหลังติดตั้งใหม่ๆในช่วงแรกอาจมีความฝ้ามัว อันเนื่องมาจากเกิดการกระเจิงแสงผ่านน้ำยาติดตั้งที่ยังค้างอยู่ในชั้นฟิล์ม ซึ่งอาการฝ้ามัวเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นเมื่อน้ำยาติดตั้งแห้งสนิท อาจจะใช้ระยะเวลา 4-12 สัปดาห์
เมื่อน้ำยาแห้งสนิทแล้ว จะสังเกตุได้ว่าในตอนมืดกระจกจะมีความใสชัดเจน และสำหรับกลางวันกระจกอาจมีลักษณะฝ้ามัวเล็กน้อยได้ในบางขณะเมื่อโดนแสงแดดในบางมุม ซึ่งเป็นลักษณะปรกติของฟิล์มเซรามิคที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Gringing
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าในการติดตั้งฟิล์มใหม่ทดแทนฟิล์มเดิมนั้น ในการลอกฟิล์มกระจกบานหลัง มีโอกาสที่เส้นไล่ฝ้าจะเสียหายจากการลอกฟิล์ม แม้ว่าจะใช้วิธีการลอกฟิล์มที่นุ่มนวล เช่น การบ่มฟิล์ม การใช้ไอนำ้ร้อน ทดแทนการใช้มีดโกนขูดคราวกาวเก่า โดยสาเหตุความเสียหายอาจมาจาก
- คุณภาพของเส้นไล่ฝ้า
- สภาพกาวของฟิล์มเดิม
ดังนั้นทางบริษัทไม่สามารถรับประกันความเสียหายของเส้นไล่ฝ้าของกระจกหลังอันเนื่องมาจากการลอกฟิล์มได้ และไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายของเส้นไล่ฝ้าในทุกกรณี