Last updated: 9 ต.ค. 2567 | 31220 จำนวนผู้เข้าชม |
กระจก Low-E หรือกระจกโลวอี นั้นไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่ แต่มีมายาวนานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเฉพาะในประเทศเมืองหนาว เนื่องจากเขาต้องการป้องกันความหนาวเย็นภายนอก แต่เพิ่งเริ่มได้รับความนิยมในเมืองไทยไม่นานนี้เอง ประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่หลายๆ คนหันมารณรงค์เรื่องการลดความร้อนในอาคาร แถมกระจกโลวอีจากจีนก็เข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ไม่ทำให้กระเป๋าฉีกง่ายๆ
แต่เดี๋ยวก่อน! กระจกโลวอีไม่ได้มีแค่ข้อดีแบบที่หลายคนเข้าใจไปหมดหรอกนะ มันยังมีข้อจำกัดบางประการด้วย ซึ่งเรามาดูกันว่ากระจกชนิดนี้ทำงานอย่างไรบ้าง
กระจกโลวอี (Low-E, Low Emissivity) มีคุณสมบัติสำคัญอยู่ 2 อย่าง:
แผ่รังสีความร้อนน้อย – พูดง่ายๆ ก็คือ มันไม่ค่อยปล่อยความร้อนออกไปสู่สภาพแวดล้อมเหมือนกระจกธรรมดา ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Low Emissivity (แปลว่าความสามารถในการแผ่รังสีต่ำ) ทำให้กระจกนี้ช่วยลดการถ่ายเทความร้อน
ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด แต่ไม่ลดความใส – กระจกโลวอีช่วยให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาได้เต็มๆ แต่เจ้ารังสีความร้อน (อินฟราเรด) กลับถูกกันเอาไว้บางส่วน ทำให้บ้านของคุณไม่กลายเป็นเตาอบ
กระจกโลวอีใช้อะไรมาเคลือบล่ะ? กระจกโลวอีมักจะเคลือบด้วยโลหะ เช่น อลูมิเนียมหรือเงิน แต่บอกเลยว่าเงินน่ะฮิตที่สุด เพราะมันแผ่ความร้อนได้น้อยสุดๆ ถ้าจะแบ่งประเภทกระจกโลวอีตามวิธีการผลิตก็จะมี 2 แบบหลักๆ ได้แก่:
1. กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง (Hard Coat Low-E)
เจ้ากระจกตัวนี้ถูกสร้างด้วยการพ่นไอโลหะร้อนไปบนกระจกที่กำลังร้อนๆ เลย ทำให้โลหะฝังตัวเข้าไปในกระจกทันที ฟังดูเหมือนเวทมนตร์ใช่ไหม? แต่กระบวนการนี้ต้องทำตั้งแต่เริ่มผลิตกระจกแผ่นเรียบ หรือ float glass นั่นเอง
แล้วกระจกแบบนี้ดีแค่ไหน? ก็ถือว่าคงทนใช้ได้ ทนทานต่อการกระทบกระแทกและใช้งานในหลายสภาพอากาศได้ แต่บางคนอาจจะคิดว่ามันไม่ใสเท่ากระจกแบบเคลือบอ่อน (Soft Coat)
ดุวิธีการผลิตกระจกแผ่นเรียบได้ที่
ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง (Hard Coat Low-E)
ความสว่างสูง: กระจกโลวอีแบบเคลือบแข็งปล่อยแสงผ่านได้มากถึง 80% ทำให้ภายในอาคารยังคงสว่างแต่ช่วยกรองความร้อนจากภายนอกได้บ้าง
ความแข็งแรงและทนทาน: ผิวเคลือบแข็งแรงทำให้กระจกชนิดนี้สามารถแปรรูปเพิ่มเติมได้ เช่น อบแข็ง (เทมเปอร์) หรือทำเป็นกระจกลามิเนต ซึ่งเหมาะกับการใช้งานหลายรูปแบบ
ใช้เป็นกระจกแผ่นเดี่ยวได้: เนื่องจากผิวเคลือบแข็ง ไม่เกิดสนิมหรือความเสียหายแม้จะใช้เป็นกระจกแผ่นเดี่ยว ไม่ต้องจับคู่กับกระจกชั้นอื่นเหมือนกระจกเคลือบอ่อนบางชนิด
ข้อด้อยของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง
ลดความร้อนได้ต่ำ: การเคลือบผิวแบบแข็งมีข้อจำกัดด้านชั้นโลหะ ทำให้การลดความร้อนจากแสงแดดทำได้เพียง 15% ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อใช้ในเมืองร้อน การเลือกใช้กระจกเขียวอาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่าในบางกรณี
ลดรังสีความร้อนได้น้อย: กระจกโลวอีแบบเคลือบแข็งอาจกักเก็บความร้อนภายในอาคารได้ดี แต่ในการลดความร้อนจากภายนอกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรในสภาพอากาศร้อน
การดูแลรักษายาก: เนื่องจากผิวกระจกต้องสัมผัสกับอากาศเพื่อให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ การทำความสะอาดจึงต้องระมัดระวังมาก เพราะการเกิดรอยหรือปฏิกิริยาเคมีกับผิวกระจกอาจทำให้ประสิทธิภาพการลดความร้อนลดลง
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน Soft coat low E
หลักการณ์คือ กระจกถูกป้อนเข้าไปในด้านล่างของห้องที่เป็นสูญญากาศและมี ขั้วแม่เล็กไฟฟ้าอยู่บนและล่าง โดยแท่งโลหะจะอยู่ด้านบน แก๊สอากอนจะถูกปล่อยในห้องและถูกเหนี่ยวนำให้กลายเป็นประจุไฟฟ้า ประจุอากอนจะถูกดูดขึ้นด้านบน ด้วยสนามแม่เหล็กกระแทกโมเลกุลแท่งโลหะตกลงมาฝังตัวเคลือบบนผิวกระจก
ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน
กระจกโลวอีแบบนี้จะถูกเคลือบภายหลังด้วยวิธี เคลือบแบบแม่เหล็กไฟฟ้า ดุวิธีการผลิตกระจกได้ที่
สามารถผลิตกระจกโลวอีที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลาย จากชนิดของโลหะ และจำนวนของโลหะที่ใช้ โดยผิวเคลือบสามารถทำได้ตั้งแต่ 5-13 ชั้น ซึ่งจะเรียกกันว่า
single low E สำหรับเคลือบเงิน 1 ชั้น และผิวเคลือบรวม 5 ชั้น
double low E สำหรับเคลือบเงิน 2 ชั้น และผิวเคลือบรวม 9 ชั้น
Triple Low E สำหรับเคลือบเงิน 3 ชั้น และผิวเคลือบรวม 13 ชั้น
ข้อด้อยของ กระจกโลวอีแบบ soft coat
จากที่กล่าวมา ดังนั้น อากาศในประเทศไทยไม่เหมาะกับการใช้กระจกโลวอีเคลือบแข็ง เพราะกันความร้อนไม่เพียงพอ แต่การใช้งานกระจกดับเบิ้ลหรือทริปเปิ้ลโลวอี ก็มีข้อด้อยเรื่องความหนาและส่งผลถึง เฟรมที่ต้องใช้ ทำให้ราคาในการใช้งานสูงมากยิ่งขึ้น ไม่เหมาะสำหรับอาคารเล็กเช่นบ้านพักอาศัย
ทางเลือกกระจกประหยัดพลังงานทดแทนกระจกโลวอี
บริษัทแอทซิสได้พิฒนากระจก LAMKOOL ที่โดดเด่นลดความร้อนได้เหนือกว่ากระจกโลวอี และมีแสงสะท้อนต่ำ ประสิทเธิภาพใกล้เคียงกระจกโลวอีแบบดับเบิ้ลหรือทริปเปิ้ลโลวอี แต่มีความหนาน้อยกว่า ให้ความแข็งแรงปลอดภัย และลดปัญหาความหนาของการติดตั้ง รวมถึงลดต้นทุนการใช้งาน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความน่าสนใจ: การพัฒนากระจกโลวอีแบบกึ่งเคลือบอ่อนที่สามารถทำลามิเนตได้
19 เม.ย 2564