กระจกโลวอี LOW E คืออะไร ดีไม่ดีอย่างไร

Last updated: 9 Oct 2024  |  31765 Views  | 

กระจกโลวอี LOW E คืออะไร ดีไม่ดีอย่างไร

ช่วงนี้พอดีมีโฆษณาเกี่ยวกับกระจกโลวอี เลยขอนำผู้อ่านมารู้จักกับกระจกชนิดนี้จะได้ไม่ตกยุค

กระจกโลวอี Low-E, Low E, Low emissivity เป็นกระจกที่มีมายาวนานกว่า 30 ปีในประเทศเมืองหนาว แต่มาเริ่มเป็นที่นิยมใช้กันในเมืองไทยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่มีการรณรงค์เรื่องการลดความร้อนในอาคาร และลดการใช้กระจกสะท้อนแสง รวมถึงราคากระจกจากประเทศจีนที่มีราคาถูกมากได้นำเข้ามา ซึ่งลักษณะการกระจกโลวอีมีหลากหลายแบบ และบางชนิดมีข้อจำกัด ไม่ได้มีข้อดีมากมายอย่างที่เข้าใจกัน 

บทความนี้ให้ข้อมูลเพื่อให้ผุ้อ่านได้มีข้อมูลในการเลือกใช้กระจกโลวอีมากขึ้น

กระจกโลวอี Low-E, Low E, Low emissivity เป็นกระจกเคลือบผิวโลหะซึ่งมีคุณสมบัติ 2 อย่างที่สำคัญ

 
1. กระจกจะแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่ากระจกธรรมดา (เป็นที่มาของคำว่า Low emissivity นั่นเอง) ความร้อนในตัวกระจกจะถ่ายเทสู่อากาศที่เย็นกว่าน้อยกว่ากระจกทั่วไป 

2. กระจกชนิดนี้ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด แต่ใสสว่าง แสงสะท้อนต้ำ เพราะกระจกโลวอี ให้แสงสว่างในแสงแดดผ่านได้ แต่ป้องกันรังสีความร้อน (อินฟาเรด)ในแสงแดดให้ผ่านได้น้อยกว่า กระจกธรรมดา  (แต่กันความร้อนได้มากหรือน้อยขนาดไหนนั้นก็ขึ้นกับประสิทธิภาพของกระจกตามสูตรการผลิต)
 

โลหะที่นำมาเคลือบ อาจจะเป็น อลูมีเนียม หรือเงิน แต่โลหะเงินได้รับความนิยมมากกว่าโลหะชนิดอื่นๆเนื่องจาก คุณสมบัติในการแผ่ความร้อนน้อยมาก ถ้าแบ่งกระจกโลวอี ตามวิธีการผลิตจะแบ่งได้ 2 แบบ

 
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง hard coat low E

กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน Soft coat low E


กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง hard coat low E

 

ผลิตด้วยวิธีพ่นไอโลหะร้อนไปทำปฏิกิริยาเคมีแล้วฝังตัวบนผิวกระจกที่ยังร้อนอยู่ ซึ่งวิธีเคลือบผิวแบบแข็งนี้้องทำตั้งแต่ขบวนการผลิตกระจกแผ่นเรียบ float glass 

 
ดุวิธีการผลิตกระจกแผ่นเรียบได้ที่


 

ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง 

มีความสว่างค่อนข้างสูง ประมาณ 80% ผิวเคลือบแข็งแรง ทำให้กระจกโลวอีชนิดนี้สามารถนำกระจกไปแปรรูปอย่างอื่นได้เช่น อบแข็งเทมเปอร์ ลามิเนต และที่สำคัญ  "สามารถใช้เป็นกระจกแผ่นเดี่ยวได้” โดยไม่เป็นสนิมโลหะ

 
ข้อด้อยของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง 

-เนื่องจากข้อจำกัดในการผลิตทำให้จำนวนชั้นโลหะที่เคลือบบนกระจกมีน้อย ผลที่ได้คือกระจกชนิดนี้ลดความร้อนจากแสงแดดได้"ต่ำ"เมื่อใช้ในเมืองร้อน ลดความร้อนได้เพียง 15% เท่านั้น  การใช้กระจกเขียวประหยัดพลังงานอาจได้ผลดีกว่า

-กระจกโลวอีแบบเคลือบแข็งลดรังสีความร้อนจากแสงแดดได้น้อย แต่กักความร้อนในอาคารได้ดี ดังนั้น การใช้งานเมืองร้อนจะได้ประสิทธิภาพไม่ตรงการใช้งาน

-ผิวกระจกต้องโดนอากาศเพื่อประสิทธฺิิภาพการลดความร้อน  การทำความสะอาดต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดรอย หรือปฏิกิริยาเคมี

 

กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน Soft coat low E

หลักการณ์คือ กระจกถูกป้อนเข้าไปในด้านล่างของห้องที่เป็นสูญญากาศและมี ขั้วแม่เล็กไฟฟ้าอยู่บนและล่าง  โดยแท่งโลหะจะอยู่ด้านบน  แก๊สอากอนจะถูกปล่อยในห้องและถูกเหนี่ยวนำให้กลายเป็นประจุไฟฟ้า ประจุอากอนจะถูกดูดขึ้นด้านบน ด้วยสนามแม่เหล็กกระแทกโมเลกุลแท่งโลหะตกลงมาฝังตัวเคลือบบนผิวกระจก

 

ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน
กระจกโลวอีแบบนี้จะถูกเคลือบภายหลังด้วยวิธี เคลือบแบบแม่เหล็กไฟฟ้า ดุวิธีการผลิตกระจกได้ที่

 

 


สามารถผลิตกระจกโลวอีที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลาย จากชนิดของโลหะ และจำนวนของโลหะที่ใช้ โดยผิวเคลือบสามารถทำได้ตั้งแต่ 5-13 ชั้น ซึ่งจะเรียกกันว่า 

single low E สำหรับเคลือบเงิน 1 ชั้น และผิวเคลือบรวม 5 ชั้น

double low E สำหรับเคลือบเงิน 2 ชั้น และผิวเคลือบรวม 9 ชั้น

Triple Low E สำหรับเคลือบเงิน 3 ชั้น และผิวเคลือบรวม 13 ชั้น


 

 

ข้อด้อยของ กระจกโลวอีแบบ soft coat

  • ไม่สามารถทำเป็นกระจก เทมเปอร์ หรือลามิเนตได้  ต้องนำกระจกธรรมดาไปทำเทมเปอร์ก่อนค่อยนำมาเคลือบ
  • ไม่สามารถใช้แบบแผ่นเดี่ยวได้  ต้องอยู่ในรูปกระจกฉนวนอากาศ เพื่อลดโอกาสการเกิดสนิมโลหะ บนผิวเคลือบ ทำให้มีผลตามมานั่นคือ   กระจกจะหนาและหนักมาก ทำให้กรอบเฟรมที่ใช้ต้องแข็งแรง และสามารถรองรับความหนากระจกได้  ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายของการใช้กระจกชนิดนี้สูงขึ้นมาก
  • กระจกยิ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากขั้น เช่น ชั้นเคลือบมากขึ้น กระจกจะมืด และมีเงาสะท้อนมากขึ้นตามลำดับ ทำให้มีลักษณะคล้ายกระจกสะท้อนแสง

 

ทางเลือกกระจกประหยัดพลังงานทดแทนกระจกโลวอี

บริษัทแอทซิสได้พิฒนากระจก  LAMKOOL ที่โดดเด่นลดความร้อนได้เหนือกว่ากระจกโลวอี แสงสะท้อนต่ำ แข็งแรงปลอดภัย และลดปัญหาความหนา รวมถึงต้นทุนการใช้งาน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่


Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy